วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พระสมเด็จวัดระฆังองค์ที่13 somdej wat rakang amulet

พระสมเด็จวัดระฆังองค์ที่13 somdej wat rakang amulet

พระสมเด็จวัดระฆัง Somdej rakang
พระสมเด็จวัดระฆัง Somdej rakang

พระสมเด็จวัดระฆัง Somdej rakang
พระสมเด็จวัดระฆัง Somdej rakang





สวัสดีครับ เพื่อนๆทุกคน วันนี้นำพระสมเด็จวัดระฆังแท้ๆอีกสไตล์นึงนะครับ จริงแท้แน่นอนยังไงพิจารณาเอาเอง อยุ่ที่ว่าเอาตำราไหนเทียบ แต่สุดท้ายอยุ่ที่คนชอบครับ แต่ถ้ามีการซื้อขายกันถ้าเป็นพระสมเด็จละก็ต้องแท้แบบสังคมยอมรับครับ จะมาเล่นแบบแนวผมไม่ได้ ผมเองก็ไม่รู้ว่าจริงๆแล้ว มีองค์ไหน่แท้มั่ง หรือเก๊มั่ง เพราะเกิดไม่ทัน ก็อาศัยพระที่มีที่บ้าน ของบ้านญาติ ของบ้านเพื่อน และของคนที่เค้ารวยๆที่เค้ายินดีชวนไปนั่งส่องนั่งดู แล้วก็ซื้อตำรับตำราหลายๆสายมารวบรวมข้อมูลหาจุดร่วม และข้อแตกต่างๆ เผื่อ...จะได้พระหลุด ไม่ใช่พระหลุดล่วงนะครับ555+ แบบนั้นเสียดายพระตายเลยครับ นั่นคือว่าตามที่สืบมามีพระสมเด็จที่ส่วนกลางไม่เล่นกันนั้น (วิเคราะห์แล้วถ้าเล่น พระจะมีเยอะเกิน แล้วคนที่จะซื้อองค์ละเป็นล้านๆจะมีกี่คนเชียวในเมืองไทย คงมีคนเอาพระมาปล่อยมากกว่าขอเช่าแน่ครับ) ยังพอมีอยู่ แล้วนับวันก็จะมีหลายๆพิมพ์ค่อยๆอวดโฉม และถูกพบเจอมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเดี่ยวนี้อะไรมันก็เชื่อมต่อถึงกันได้หมด ขนาดพระสมเด็จของคนที่อยู่อเมริกาเรายังได้เห็นเลยจริงมั้ยครับ?

ในเมื่อเราเสาะหาเพราะความชอบ เป็นความสนุกท้าทายเหมือนค้นหาสมบัติ และมีการเช่าหาเปลี่ยนมือกันไม่ยากนัก หลักหมื่นถ้าพระฟอรืมแน่นๆ ก็ไม่ยากที่จะออกตัวกันละครับ โดยเฉพาะหลังๆพระพิมพ์เก่าๆไม่ค่อยได้เห็นกันมากแล้วคิดว่าเจอคนที่เค้าศึกษาอย่างจริงจังและมีกำลังทรัพย์ เก็บสะสมกันจะแทบไม่เหลือแล้ว น่าภูมิใจที่พระสมเด็จแบบนี้มีทั้งดอกเตอร์ ศาตราจารย์ นายแพทย์ นายพล ต่างก็มีไว้ในครอบครองอยุ่ไม่น้อย ยังไงก็ไม่เหงาหละครับสำหรับสายเล่นพระแนวนี้ อย่างที่เค้าเปรียบเทียบให้ฟังว่า อยากได้ปลาถูกก็ให้ไปจับเองครับ ให้คนอื่นจับก้ต้องเสียค่าเวลา เสียค่าแรงให้กับเค้าไปจริงมั้ย?

เอาละครับมาพูดถึงพระสมเด้จองค์นี้กันครับ ดูจากพิมพ์แล้วเป็นพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์อกกระบอกพิมพ์หนึ่ง ที่ไม่ใช่ของหลวงวิจารณ์เจียรนัยอย่างแน่นอน แต่อาจเป็นแม่พิมพ์ก่อนหลวงท่านสร้าง เพราะเนื่องจากเนื้อหาที่ผสมเนื้อพระออกแนวนุ่มนวลกว่าของทางยุคหลัง องค์นี้ผสมปูนน้อยแทบจะเรียกว่าผงล้วนเลยทีเดียว เพราะช่วงยุคแรกๆ ตำราว่าจะเน้นผงพุทธคุณไม่อั้น ยุคหลังๆสัดส่วนการผสมจะมีปูนกับตังอิ้วเสริมเข้ามามาก ทำให้พระยุคแรกๆไม่ค่อยทน มีแตก ป่น หัก ตามกาลเวลาไปมาก โดยเฉพาะสมัยก่อนการสัญจรก็เป็นทางน้ำซะส่วนใหญ่ พระตกน้ำก็มีเป้นอันมาก ขนาดผมตอนเด็กใช้สร้อยสแตนเลส พระยังขาดหายอยุ่บ่อยๆ สมัยก่อนใช้เชือกหนัง เชือกปอมั่งไม่ขาดก็คงไม่ได้ ซ้ำบางคนห่อใส่ผ้า การอาราธนาติดตัวไปใช้ก็สุดแล้วแต่ละคนละครับ องคืนี้แต่แรกมีรักติดมาด้วยแต่ผมค่อยๆลอกออกครับ จุดไหนไม่กล้าเสียงก็เบามือ ดีนะผิวไม่เสียมาก แต่จากที่สังเกตุนะ พระสมเด็จมักจะลงรักด้านหน้าหนาๆไว้ด้านหลังอาจมีบ้างหรือไม่มีเลยเลยก็ได้  แล้วมีจุดสังเกตุอีกอย่างนึงของเส้นสายองค์พระจะขยุกขยิกไม่เหมือนกันนะครับ เพราะไม่ได้เกิดจากพิมพ์แต่เกิดจากการแกะพระออกจากพิมพ์ส่วนหนึ่ง กับการหดตัวของพระไม่เหมือนกัน จะเหมือนบางจุดแต่ไม่เหมือนหมดซะทีเดียวนะครับ ถ้าเหมือนหมดแสดงว่าต้องมีองค์ไหนที่เก๊ เฮ้ย...หรือเก๊ทั้ง2เลย 555+ ตรงส่วนของแม่พิมพ์จะเห็นว่าทำไมมีเส้นกรอบ2ชั้น ก็ง่ายๆครับ แม่พิมพ์ยุคแรกๆไม่ได้ปราณีตมากนัก เส้นที่เห็นเป็นเส้นกะขนาดครับ คร่าวๆ ไม่ได้มีความพิเศษอะไร แต่ก็ถูกไปตีความกันเองว่าถอดพิมพ์มั่งละ ก็อย่างว่าถ้าคนทำก็ไม่รู้นี่ครับว่าลูกหลานในอนาคตจะมีกฎเกณฑ์ในความนิยมอย่างไร

*** พูดถึงความนิยมนี่ ตอนเด็กๆผู้ใหญที่สะสมพระก็มักชอบอวดพิมพ์แปลกๆ หรือมีขนาดใหญ่ๆ หรือทำจากวัตถุพิเศษ แบบ เนื้อชิน ทองคำ เงิน อะไรประมาณนี้  

พระสมเด็จวัดระฆัง Somdej rakang
พระสมเด็จวัดระฆัง Somdej rakang

พระสมเด็จวัดระฆัง Somdej rakang
พระสมเด็จวัดระฆัง Somdej rakang

พระสมเด็จวัดระฆัง Somdej rakang
พระสมเด็จวัดระฆัง Somdej rakang

พระสมเด็จวัดระฆัง Somdej rakang
พระสมเด็จวัดระฆัง Somdej rakang

พระสมเด็จวัดระฆัง Somdej rakang
พระสมเด็จวัดระฆัง Somdej rakang





มาดูเนื้อหามั่งครับ เนื้อแบบนี้คนเก่าๆเค้าบอกเนื้อปูนุ่ม หรือผงล้วนๆ มีความนุ่มหนึก สอดผสานกับพิมพ์พระทำให้ดูแล้วสบายตา สบายใจ ทำให้ผมมโนได้เลยที่เค้าเคยกล่าววิธีการทำผงพุทธคุณทั้ง5 ที่ว่าเขียนๆลบๆแล้วผสมกับน้ำว่านน้ำมนตืต่างๆแล้วปั้นเป็นแท่งๆไว้ เนื้อจึงได้เนียนละเอียดยิบปานนี้  แต่ถึงอย่างไรเวลาส่องเนื้อหาก็อย่าลืมส่องหามวลสารอื่นๆภาคบังคับด้วยนะครับ ยังไงก้ต้องมีเพียงแต่จะมีมากมีน้อย เช่นผงดำ ผงเทา ผงแดง ผงเขียว ทรายเงิน ทรายทอง เป็นต้น นะครับ ไว้โอกาสหน้าผมจะหารายละเอียดในส่วนนี้มาเล่าสู่กันฟังสไตล์กันเองในคราวต่อไปครับ ขอบคุณมากที่ติดตามครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น